อินเทอร์เน็ตในไทย และโดเมน .th .ไทย
พ.ศ. 2529 ศ. ดร.กาญจนา กาญจนสุต (AIT) ส่งจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ที่ปรึกษา
ในมหาลัยวิทยาลัยเมลเบิร์น เชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์
ทางไกลต่างประเทศ
พ.ศ. 2531 AIT รับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของไทย
เชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต ภายใต้โครงการ TCSNet
เพื่อรับ-ส่งอีเมลเป็นรายครั้ง ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยัง
เครื่องแม่ข่ายที่ประเทศออสเตรเลีย
ในปีเดียวกัน ศ. ดร.กาญจนา กาญจนสุต ได้สิทธิ์ดูแล
ชื่อโดเมนแทนประเทศไทย .th จาก Jonathan Bruce Postel
อินเทอร์เน็ตในไทยเริ่มแพร่หลาย จึงเกิดการประชุมร่วมกันระหว่าง
นักวิจัยและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อวางแนวทางการบริหารจัดการ
ชื่อโดเมน .th เพิ่มโครงสร้างชื่อโดเมนระดับที่สอง เช่น .co.th .ac.th .or.th
.go.th และจัดตั้งศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย หรือ THNIC
มีหน้าที่รับจดทะเบียนชื่อโดเมนต่าง ๆ ที่ลงท้ายด้วย .th
ปัจจุบันคือ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย ผู้บริหารจัดการนโยบายการใช้งาน .th และ .ไทย
บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด ผู้ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมน (Registrar)
.th (มี.ค. 42) และ .ไทย (มี.ค. 54)
บริษัท ไทย เนม เซิฟเวอร์ จำกัด ผู้ดูแลฐานข้อมูลและระบบ
โดเมนเนมเซิฟเวอร์ (Registry)
ข้อดีของชื่อโดเมน .th
ความชัดเจนของแบรนด์ และสามารถสื่อสารกับผู้อื่นทั่วโลกถึง
การมีตัวตนอยู่ในประเทศไทย
.th .ไทย มีความเข้มงวดด้านนโยบายการจดทะเบียน สร้างความ
น่าเชื่อถือให้กับชื่อโดเมน และผู้ใช้งานมื่อต้องติดต่อกับประเทศอื่น ๆ
การยืนยันตัวตนในการจดชื่อโดเมน ทำให้การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตมีน้อย
ไม่สนับสนุนการเกร็งกำไรชื่อโดเมน หรือ Cyber-Squatting
การทำธุรกรรมบนเว็บไซต์ .th และ .ไทย ได้รับการยอมรับและปลอดภัยมากกว่าชื่อโดเมนทั่วไป
นโยบายการตั้งชื่อโดเมนตรงกับชื่อองค์กร ชื่อย่อองค์กร เครื่องหมายทางการค้า ช่วยสนับสนุนการทำการตลาดด้วย SEO